SET : ย้อนมอง Price Pattern จากช่วงวิกฤต subprime และต้มยำกุ้ง

SET : ย้อนมอง Price Pattern จากช่วงวิกฤต subprime และต้มยำกุ้ง
=================
ตลาด มักจะเคลื่อนที่ในรูปแบบเดิมๆ
ดังนั้น การมองรูปแบบของราคาในอดีต เพื่อช่วยในการตัดสินใจเข้า order
ก็น่าจะปลอดภัยกว่า..

โดยในวันนี้ผมจะมานั่งวิเคราะห์รูปแบบของ Weekly Price Pattern
ในช่วงวิกฤตใหญ่ของตลาดหุ้นไทยที่ผ่านมา นั่นก็คือ ช่วงวิกฤต subprime ปี 2008
และวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1998 ครับ


1) วิกฤต sub prime ปี 2008
快照

ถ้าเราดูโดยใช้ MACD เพื่อระบุ trend ขาลง เราจะเห็นได้ว่า จุดที่เริ่ม confirm trend ขาลง คือ MACD < 0 ที่แถวๆ ช่วงวันที่ 23 มิ.ย. 2008 และลากยาวไปจน MACD เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ที่แถวๆ 7 เม.ย. 2009 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 288 วัน ในการสร้างฐานราคา


จากรูป จะเห็นได้ว่า เราเห็นแท่งแดงยาวๆ ใหญ่ๆ จาก 580 ลงมา 446 ในเวลาเพียงแค่อาทิตย์เดียว และหลังจากนั้นก็มีการลงต่อไปเรื่อยๆ จนทำ double bottom แล้วเด้งกลับ

快照
ในการเด้งกลับ ถ้าวัดแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มันขึ้นจาก 380 ไปสูงสุดที่ 480 หรือชนเส้น EMA 18 แล้วก็ร่วงลงมาต่อ ที่ 400 .. ถ้าว่ากันตามรูปแบบของเวฟ ตรงนี้ก็คือ เวฟ 1-2 แบบ classic เลย เพราะมันเด้งแล้วย่อมาถึงแนว fibo 0.618 โดยไม่ทำ new low

ซึ่ง ตรง 400 นี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มทยอยเข้าหุ้น แบบคุมความเสี่ยง โดยถ้า SET หลุด low 380 weekly ก็หนีต่อ นั่นเอง ( จะเห็นได้ว่า เสี่ยงแค่นิดเดียว )

ถ้ากลัวโดนหลอก เราสามารถรอเข้าตอนปิดวีค แท่งน้ำเงิน เหนือ EMA 18 + Action Zone ก็ได้เช่นกัน

หลังจากนั้น ตลาดหุ้นก็ขึ้นยาว..


2) วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1996-1998
快照

วิกฤตรอบนี้เกิดจากไทยโดยตรง ทำให้กว่าจะฟื้นได้ก็ใช้เวลานานมาก แถมหลังจากนั้นก็เจอ วิกฤตดอตคอม มาซ้ำเติมอีก

รอบนี้ ตลาดหุ้น ลงจาก 1300 จุด ตอน MACD เริ่มวิ่งใต้ 0 และมาจบ เจอ bottom จริงๆ ตรง 200 จุด โดยใช้เวลาทั้งสิ้นถึง 882 วัน ( 2 ปีกว่า )

ถ้าเราสังเกตุกราฟ จะเห็นได้ว่า มีการ "เด้งหลอก" บ่อยมากๆ โดยจุดที่เด้งหลอกแบบรุนแรงมาก มีอยู่สองจุดด้วยกันคือ
2.1) เด้งหลอก ครั้งที่ (1) มิ.ย. 97 : ขาดทุนประมาณ 3-4%
快照


มีการเด้งมาในโซน EMA 18 +
แล้วหลังจากนั้นก็มีการย่อลงไปที่
0.786-0.887 fib
แต่ทว่า ก็ไม่สามารถไปต่อ
และกราฟปิดวีคด้วย new low
และหลังจากนั้นก็มีการลงต่อยาว

โดยช่วงหลังจากเด้งหลอกไปจนถึงการทำ new low ใช้เวลาทั้งสิ้น 133 วัน ( สี่เดือนกว่า )

2.2) เด้งหลอก ครั้งที่ (2) ม.ค. 98 : ขาดทุนประมาณ 3-4%
快照


การเด้งหลอกรอบนี้ น่าจะถือว่าเป็นการเด้งหลอกที่สุดแสบก็ว่าได้ เพราะว่า
- เด้งขึ้นมาจาก จุดต่ำสุดที่ 338 ขึ้นไป 500 ในเวลาเพียง 3 อาทิตย์ หรือขึ้นไปทั้งหมดเกือบ 47%
- ปิดแท่งสวย ด้วยการปิดเหนือ EMA 18 + action zone พร้อม bear div ก่อนหน้า
- จุด buy แรก ถ้าตามระบบ เราก็ต้องเข้า แต่ก็จะเห็นได้ว่า ไม้นี้ ถ้าต้อง Stop ก็จะต้อง stop ถึง -31% ( ยังไม่นับหุ้นรายตัว ) ทำให้ ถ้าเราต้องเข้าจริงๆ ก็ต้องเข้าได้แค่นิดเดียว
- จุด buy ที่สอง ที่ตรง 0.786 จะเห็นได้ว่า วีคถัดไปมันก็ลงต่อยาวเลย จนสุดท้ายก็ไปทำ new low ซึ่งถ้าตามระบบก็ต้อง stop ทุกไม้ออกมาดูลาดเลาก่อน

2.3) เด้งแล้วขึ้นจริง และไม่กลับมาอีกเลย
快照

หลังจากหลอกคนให้หมดตัว หรือขาดทุนหนักกันไปสองรอบ ทำให้การดีดรอบนี้ คนน่าจะระแวง และถอดใจกับหุ้นไทยกันไปเยอะมาก

โดยการดีดรอบนี้ ขึ้นมาจาก bottom ที่ 200 ไปที่สัญญาณ buy แรก ถึง +57% ( สัญญาณ buy แรก คือ แท่งวีค ปิดเหนือ EMA18 + Action zone )

ซึ่งถ้าเราเข้าแบบคุมเสี่ยง 1% สำหรับไม้แรก เราก็จะเข้าได้แค่เพียง 2.7% ของพอร์ตเท่านั้น

และถ้าเรารอให้ Action Zone Weekly เขียว แล้วค่อยเข้า อีก risk 1% เราก็จะเข้าได้อีกแค่ 2.5% ของพอร์ตเท่านั้น

รวมเบ็ดเสร็จแล้วประมาณ 5% ของพอร์ตใหญ่เท่านั้น

จะเห็นได้ว่า เอาจริงๆ ก็เข้าได้ไม่มาก ถ้าต้องคุมความเสี่ยง เพราะถ้าเราเข้าแบบไม่ยอมคุม เราก็จะขาดทุนหนักไปตั้งแต่การดีดหลอกสองครั้งแรกแล้ว

และถ้าเราต้องไปออกตอน Action Zone แดงแรก ตอน ตุ.ค. 99 เราก็จะได้กำไรแค่ +19% เท่านั้น .. และหลังจากนั้นเราก็จะโดนสับขาหลอกอีกรอบ เพราะวิกฤต ดอตคอม..ที่ทำให้ตลาดซึมไปอีกเกือบปี
快照

ซึ่งพอเข้ามาเจอวิกฤตดอตคอม เราก็จะเห็นได้ว่า กราฟก็ทำ pattern เดิมๆ อีกแล้ว นั่นก็คือ ลง แล้วก็เด้งหลอก แล้วก็ลงต่อแล้วก็เด้งหลอกอีกที กว่าจะลงสุดจริงก็ปาเข้าไปเกือบปี แถมหลังจากนั้นก็ sideway ต่ออีกปีกว่า กว่าจะพอเริ่ม take off จริงได้

สรุปสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการนั่งไล่ดูกราฟย้อนหลัง
1) ตอนลง ยังไงก็จะมีเด้งกลับ แต่ก็มักจะเป็นการเด้งหลอก
2) กว่ากราฟจะสร้างฐานเสร็จ มันใช้เวลา ไม่ต้องรีบร้อนเข้าก็ได้ เอาง่ายๆ แค่จากช่วงต่ำสุด มาช่วงยกโลว สัญญาณเข้าซื้อแรก ยังใช้เวลาเป็นเดือนๆ
3) ถ้าตกรถไม่ทันเวฟ 2 ก็จะยังมีจุดเข้าน่าสนใจคือ กราฟวีค ปิดเหนือ EMA 18 + Action zone + break out เหนือ high เดิมได้อีก
4) ในการเข้าซื้อทุกครั้ง ต้องมีแผนคุมความเสี่ยง แหละจุดยอมแพ้เสมอ เพราะอย่างตอนต้มยำกุ้ง จะเห็นได้ว่า พอกราฟมันย่อแล้วทำ new low มันก็ลงต่อแรง
5) เป็นไปได้ควรแบ่งไม้เป็นสองไม้ คือไม้ที่เข้าซื้อตอน week ปิดเหนือ EMA 18 + Action Zone แบบแรงๆ 1 ไม้ และไม้สองเข้าตอนมันย่อลง 0.618-0.786 โดยทั้งสองไม้นี้ จะต้องออกถ้าราคาปิด week new low ห้ามอิดออด และสองไม้นี้ max risk ควรอยู่ประมาณ 3-4%
6) มันก็มีบางจังหวะที่ขึ้นแล้วขึ้นไปเลยเหมือนกัน ดังนั้น จุดสำคัญคือ ไม้สองต้องเป็นไม้ที่ค่อนข้าง flexible และพร้อมเข้าถ้ามีสัญญาณซื้อแบบจริงๆ ( new high หรือ action zone เขียว )
7) ตอนนี้ได้ไอเดียคร่าวๆ เกี่ยวกับการดูกราฟ week แต่สุดท้าย เราก็ต้องไปดูหุ้นรายตัว หรือเทรดใน TF Daily อยู่ดี ซึ่งก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า ระบบนี้ จะให้ผลที่ดีได้หรือไม่
setTrend Analysis

- ถ้าอยากดูผล Backtest ของกลยุทธนี้ ให้เปิดผ่าน web browser บน PC นะครับ
- ถ้าอยากติดตามเพจ ก็เข้าไปไลค์ได้ที่ facebook.com/inwcoin
- ทุกบทวิเคราะห์ ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน เป็นเพียงการศึกษา Technical Analysis และบันทึกไว้เป็นหลักฐานของผมเองเท่านั้น
更多:

免責聲明