ทองคำกลับมาปิดบวก 6.10 ดอลลาร์เหตุหนุนราคาจากเงินเฟ้อ
ตลาดทองคำวานนี้แม้ว่าจะดูเหงาๆ ไปบ้าง แต่ทองคำก็ปรับตัวขึ้นแดนบวกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ทองคำกลับมาปิดบวกได้อีกครั้ง เหตุผลหลักๆ การกลับขึ้นมาบวกทองคำนั้นก็คงไม่พ้นเรื่องของเงินเฟ้อ ที่การคาดการณ์รายงานจะถึงนี้ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีเลยทีเดียว จึงทำให้นักลงทุนส่วนหนึ่งเข้าซื้อทองคำในขณะนี้ ทั้งที่หวังเก็งกำไรระยะสั้น และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เริ่มจะส่งส่อเค้าถึงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commondity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 6.10 ดอลลาร์ หรือ 0.3% ปิดที่ 1,827.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สภาวะเงินเฟ้อที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ของสหรัฐจะพุ่งขึ้น 7.2% เมื่อเทียบกับรายปีนั้น ถือเป็นระดับสูงสุดในประวัติการณ์ของสหรัฐ ทำให้การกลับมาถือครองทองคำเริ่มจะเห็นเพิ่มเข้ามาในพอร์ตการลงทุน และที่ไม่ทิ้งไปก็คือเรื่องของสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน ซึ่งก็ยังมีท่าทีที่ส่อเค้าถึงความรุนแรงอยู่เนืองๆ ก็ยังเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำด้วยเช่นกันเวลานี้ สำหรับวันนี้ยังไม่มีรายงานสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM
ทองคำยังสะสมแรงบวกต่อเนื่อง แม้เช้าวันนี้จะปรับฐานลงบ้างแต่ก็ยังอยู่ในการปรับฐานราคามากกว่าการกลับตัวของราคา หาราคาทองคำยังสามารถยืนเหนือระดับแนวต้านระยะสั้น 1824 -1825 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น ก็มีโอกาสที่จะกลับขึ้นทดสอบจุดสูงสุดก่อนหน้าที่ระดับ 1828.61 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อีกครั้ง ทั้งนี้หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวในช่วงกลางวันๆ นี้เราก็อาจเห็นการแกว่งตัวจากการเข้าทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุนได้อีกเช่นกัน โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 1820-1815 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเรามองเป็นแนวซื้อคืนทองคำ แต่หากราคาทองคำมีแรงซื้อมากพอจนทำให้หลุดแนวต้าน 1830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไปได้ ประเมินแนวต้านถัดไปที่ระดับบริเวณ 1843-1837 ดอลลาร์ต่อออนซ์
===========
Indicator (TF H1)
===========
True RSI (14) เส้น RSI ยังเคลื่อนไหวในแดนบวกเหนือระดับ 50 และสะสมการยกตัวได้ดี จนสามารถรองรับราคาบนเส้น SMA20 ไว้
เส้น SMA200 มีลักษณะยกตัวขึ้นสะท้อนแรงซื้อสะสมระยะกลางเข้ามาหนุนกรอบเวลาระยะสั้นได้แล้ว
เส้น SMA 50 ยังวิ่งเกาะกลุ่มกับราคาทองคำอยู่ โดยมีระดับความชันที่สะท้อนแรงซื้อที่แข็งแกร่งเวลานี้
=================================
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
=================================
Long Position : หากราคาทองคำย่อตัวใรระดับ 1820-1815 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และสามารถทรงตัวได้ที่บริเวณดังกล่าว อาจเสี่ยงเปิดคำสั่ง “ซื้อ” ได้จากตรงนี้ โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น กำไรพิจารณาที่บริเวณแนวต้าน 1828-1830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1815 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
Short Position : หากราคาทองคำยังไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1828-1830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิด “ขาย” ได้จากบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาทำกำไรได้ที่บริเวณแนวรับ 1820-1815 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สำหรับกรณีที่ราคาทองคำปรับตัวได้เหนือระดับ 1828-1830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้นักลงทุนเฝ้ารอการปรับฐานก่อนถึงจะมองหาโอกาสในการเข้าซื้อทองคำต่อไป
แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1830 / 1850 / 1863
-------------------------------------------
Support : 1815 / 1800 / 1782
-------------------------------------------
แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1830 / 1837 / 1843
-------------------------------------------
Support : 1820 / 1815 / 1810
-------------------------------------------
แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้
Time Frame H1 = Uptrend
Time Frame H4 = Uptrend
Time Frame Day = Uptrend
Time Frame Week = UPTREND
Time Frame Month = UPTREND
-------------------------------------------
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ
-------------------------------------------
สถานะการถือครองทองคำ = ซื้อเพิ่ม 4.36 ตัน
คงถือสุทธิ = 1,015.96 ตัน
ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,825.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปรับการถือครองครั้งที่ = 6
รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = +1.70 ตัน
-------------------------------------------
*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง
***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต