Por : Technical Analysis

ตลาดหลักทรัพย์ไทย

Spinning Bottom
สัญญาณเศรษฐกิจโลกถดถอย กดดันให้นักลงทุนนำหุ้นออกเทขาย ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,604.03 จุด ลดลง 15.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไร จะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเป็นวันที่ 4 (ยอดขายสุทธิ 1.19 หมื่นล้านบาท) ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง สัญญาณเศรษฐกิจถดถอย จะเป็นแรงกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น

ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงทดสอบแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning Bottom ในเขตขายมากเกิน กราฟแท่งเทียนสะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ราคาปิดของวันถัดไปจะบ่งบอกถึงทิศทางดัชนีตลาดที่จะเกิดตามมา หากดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงต่อ แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดระยะสั้นจะปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล เข้าหาแนวต้านที่ 1,620 จุด
ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดจุดต่ำใหม่ แสดงว่าดัชนีตลาดตลาดยังมีแนวโน้มปรับตัวลง สัญญาณปลายตลาดขาลงจะเกิดเมื่อสัญญาณ RSI เกิดเป็น Bullish Divergence

จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น (ii) เนื่องจากคลื่น (ii) สามารถปรับลดลงลึก 61.8% Fibonacci Retracement หรือลึกใกล้จุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่คลื่น (ii) ต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด

สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,613 – 1,620 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,596 – 1,590 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ช่วงที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น เนื่องการเกิด Inverted Yield Curve
Trend AnalysisWave Analysis

免責聲明